E-Learning Mangement Information Systems

บทที่ 5 จริยธรรมและประเด็นทางสังคมในองค์กรดิจิตอล

หลักจริยธรรมและประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องระบบต่างๆ

            ใน5ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นสิ่งท้าทายจริยธรรมเป็นอย่างยิ่งทั้งที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาและการดำเนินธุรกิจทั่วโลกตัวอย่างเล็กน้อยที่แสดงให้เห็นความล้มเหลวในการตักสินใจของผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางที่เกิดขึ้นภายใน5ปีที่ผ่านมาความผิดพลาดในการบริหารงานด้านจริยธรรมและการตัดสินทางธุรกิจได้เกิดขึ้นทั่วไปในอุตสาหกรรมต่างๆ

จริยธรรม (Ethics) หรือจริยธรรมหมายถึงหลักพื้นฐานในการตัดสินความถูกหรือผิดที่แต่ละบุคคลนำมาใช้อย่างอิสระการเลือกหนทางปฎิบัติหรือกำหนดพฤติกกรรมของตนเองเทคโนโลยีข่าวสารและระบบสารสนเทศได้ทำให้เกิดคำถามใหม่ๆทางด้านจริยธรรมสำหรับทั้งบุคคลและองค์กรเนื่องจากได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรุนแรง

รูปแบบประเด็นความคิดตามหลักจริยธรรม ทางสังคม และการเมือง

ความสัมพันธ์ของหลักจริยธรรม (Ethics) สังคม (Social) และการปกครอง(Politcal) เป็นสิ่งที่มีความผูกพันธ์ต่อกันอย่างเหนียวแน่น ผู้บริหารระบบสารสนเทศมักค้นพบกับทางสองแพร่งเมื่อพิจารณาตามหลักจริยธรรมที่ถูกสะท้อนออกมาในรูปของการโต้เถียงทางสังคมการปกครอง

มิติความชอบธรรมห้าประการในยุคข่าวสาร

การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับหลักจริยธรรม สังคม และการเมืองที่เกี่ยวข้องกับระบบต่างๆ สามารถกำหนดมิติความชอบธรรม (Moral dimensions) ในยุคข่าวสารเป็นห้ายประการ

สิทธิการรับรู้ข่าวสารและพันกรณี (Information rights and obligations): แต่ละบุคคลและองค์กรควารมีสิทธิ์ในการรับรู้ข่าวสารอย่างไรบ้างเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลกับตนเอง จะมีวิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัวได้อย่างไรและควรมีพันธกรณีหรือความรับผิดชอบอย่างไรต่อข้อมูลที่ตนเองครอบครองอยู่

สิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์สิน (Property rights): สิทธิในการทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ในปัจจุบันจะได้รับการปกป้องอย่างไรในสังคมดิจิตอลซึ่งการค้นหาหรือติดตามความเป็นเจ้าของลิขสิทธ์นั้นกระทำได้ยาก แต่การเพิกเฉยต่อสิทธิดังกล่าวกลับกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา

การให้การยอมรับแลการควบคุม (Accountability and control): ใครจะเป็นผู้ที่ยอมรับในพันธกรรม (liable) ต่อความผิดพลาดทีอาจเกิดขึ้นต่อบุคคล ข่าวสาร  หรือสิทธิความเป็นเจ้าของของทรัพย์สิน

คุณภาพของระบบ (System quality) มาตรฐานของข้อมูลและคุณภาพของระบบถูกกำหนดขึ้นมาได้อย่างไรเพื่อปกป้องสิทธิส่วนบุคคลและความปลอดภัยทางสังคม

คุณภาพของชีวิต (Quality of life) คุณค่าของชีวิตควรได้รับการปกป้องรักษาไว้ในทางสังคมข่าวสารได้อย่างไรสถาบันใดเป็นผู้ปกป้องการฝ่าฝืน เทคโนโลยีใหม่จะมีส่วนสนับสนุนคุณค่าของวัฒนธรรมและการปฎิบัติอย่างไร

หลักจริยธรรมในยุคข่าวสาร

มนุษย์ที่มีจริยธรรม คือ  กลุ่มคนที่มีความต้องการเป็นอิสระในทางการเลือกตนเองหลักจริยธรรมของตนเอง หลักจริยธรรมจึงเกี่ยวข้องกับทางเลือกของแต่ละบุคคล ซึ่งเทื่อเผชิญหน้ากับการปฏิบัติที่มีหลายทางเลือกแล้ว จะต้องสามารถพิจารณาว่าอะไรคือทางเลือกที่ชอบธรรมหรืออะไรที่เป็นลักษณะเด่นของทางเลือกที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม

ทางเลือกที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม (Ethical choice) คือการตัดสินใจโดยแต่ละบุคคลที่ต้องรับผิดชอบต่อผลการกระทำที่เกิดตามมาในภายหลังความรับผิดชอบ(Responsibility) คือลักษณะเด่นของแต่ละบุคคลและเป็นกุญแจสำคัญของการกระทำที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม ความรับผิดชอบ ยังหมายถึงการยอมรับในสิ่งที่อาจกลายเป็นค่าใช้จ่าย หน้าที่ หรือข้อผูกพันที่เกิดขึ้นเนื่องจากการตัดสินใจนั้น

การวิเคราะห์ตามหลักจริยธรรม

แต่ละบุคคลจะมีวิธีการวิเคราะห์และหาเหตุผลเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถาณการณ์ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมได้ตามขั้นตอนห้าขั้นต่อไปนี้

1.แยกแยะและอธิบายข้อเท็จจริงให้ชัดเจน  พยายามค้นหาข้อเท็จจริงว่าใครได้ทำอะไรต่อใครที่ไหนเมื่อไหร่ และอย่างไรเหตุการณ์ที่ได้รับจากการรายงานเบื้องต้นนั้นไม่ถูกต้องเมื่อทราบวิธีแล้วก็อาจจะพบวิธีแก้ไขปัญญานั้นๆ

2.กำหนดความขัดแย้งหรือทางเลือกและแยกแยะค่านิยมระดับสูงขึ้นมาเกี่ยวข้องประเด็นทางจริยธรรม สังคม และการปกครองมักจะอ้างในระดับค่านิยมในระดับสูงฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการโต้แย้งมักจะอ้างว่ากำลังไขว้คว้าหาค่านิยมในระดับสูงการที่ร้านค้าต้องการขยายตลลาด

3.ระบุผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย หลักทุกข้อของจริยธรรม สังคม และการปกครองจะต้องมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่เสมอหมายถึงผู้ที่ให้ความสนใจแก่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

4.ระบุทางเลือกที่สามารถยอมรับได้ ในบางครั้งอาจพบว่าไม่มีทางเลือกใดเลยที่สามารถตอบสนองความรุ้ความต้องการของแต่ละบุคคลทุกข้อ อย่างไรก็ตาม ทางเลือกบางอย่างก็ดีกว่าทางเลือกอื่นๆ

5.ระบุผลที่อาจเกิดตามมาจากทางเลือกที่มี หนทางเลือกบางอย่างอาจถูกต้องตามหลักจริยธรรมแต่อาจเกิดกลายเป็นความสูรเสียต่อสิ่งนั้น ในขณะที่ทางเลือกอื่นอาจมีความเหมาะสมกรณีซึ่งอาจไม่สามารถนำไปใช้กรณีอื่นได้

จริยธรรมสำหรับมืออาชีพ

กลุ่มบุคคลที่อ้างตนเองว่าเป็นมืออาชีพ (Professional) หมายถึงกลุ่มคนที่อ้างสิทธิพิเศษรวมทั้งความรับผิดชอบในพันธกรรมที่เกี่ยวข้องโดยใช้ข้ออ้างในการมีความรู้ ความรอบครอบ และเอาใจใส่อย่างลึกซึ่งเหนือผู้อื่น จริยธรรมสำหรับมืออาชีพ (Professional

code of conduct)ได้รับการประกาศในลักษณะคล้ายกับเป็นพระราชบัญญัติโดยสมาคมมืออาชีพในอยู่ในประเทศ

สิทธิส่วนบุคคล (Privacy) หมายถึงการที่บุคคลต้องการอยู่อย่างโดดเดี่ยวปราศจากการถูกจับตามองหรือการรบกวนใดๆจากผู้อื่นหรือองค์กรของรัฐ การอ้างสิทธฺส่วนบุคคลยังครอบคลุมเข้าไปในสถาณที่ที่ทำงานพนักงานหลายล้านคนถูกจับตามองโดยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ

หนทางแก้ปัญหาด้ายเทคนิค

เครื่องมือที่ช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบว่าข้อมูลส่วนตัวชนิดใดที่สามารถดึงเอาไปใช้โดยเว็บไชต์ต่างๆมาตรฐานเรียกว่า the plat form for privacy preferences (p3p)การแลกเปลี่ยนการสื่อสารเกี่ยวกับนโยบายการรักษาความเป็นส่วนตัวเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติระหว่างเว็บไซต์การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องผู้ใช้(p3p)

การปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property) ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยบุคคลหรือองค์กรระบบสารสนเทศได้ทำให้การปกป้องทรัพย์สินประเภทนี้กระทำได้ยากมากเนื่องจากข้อมูลในรูปอิเล็กทรอนิกส์สามารถถูกทำสำเนาเผยแพร่ในระบบเครือข่ายได้อย่างง่าย

สิทธิบัตร (patent) หมายถึง

      หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมา ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ เพื่อให้ได้สิ่งของ,เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การประดิษฐ์รถยนต์, โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์

Free Web Hosting